วันอาทิตย์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

ภูมิปัญญาชาวบ้านของจังหวัดอุบลราชธนี

ภูมิปัญญาชาวบ้าน


            อำเภอสำโรง มีภูมิปัญญาด้านการบริหารจัดการองค์กรชุมชน สวัสดิการชุมชน ที่สำคัญ เช่น องค์กรชุมชน กลุ่มเกษตร ทำกิจกรรมในด้านการเกษตร การส่งเสริมรายได้เพื่อการพัฒนาศักยภาพและคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน เป็นต้น เป็นภูมิปัญญาที่จัดอยู่ในระดับสูงมาก

ภูมิปัญญาด้านหัตถกรรม
                          เป็นภูมิปัญญาระดับสูง ผลิตภัณฑ์ที่สำคัญ คือ ผ้าไหม หมอนขิด เสื่อเตย ผ้าไหม
   
                                       เสื่อเตย                                         หมอนขิด                                        ผ้าฝ้าย
ภูมิปัญญาด้านเกษตรกรรม
            โภชนาการ อาหารแปรรูป มีศักยภาพค่อนข้างสูง มีผลิตภัณฑ์ คือ พริก  แตงโมถั่วลิสง พืชบำรุงดิน

ภูมิปัญญาด้านศิลปวัฒนธรรม ประเพณี
        การอนุรักษ์ศิลปะพื้นบ้าน ถือได้ว่ามีศักยภาพภูมิปัญญาอยู่ในระดับปานกลางเป็นที่รู้จักดีในท้องถิ่น เช่น วงลูกทุ่งหมอลำ  กลองยาว นักร้อง  นักดนตรี เป็นต้น

สิ่งที่เป็นผลิตภัณฑ์โดดเด่นของภูมิปัญญา
            ผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น ของชาวอำเภอสำโรง  คือ ผ้าทอขิด ผ้าไหม ตำบลสำโรง จักสานหมวกใบตาล ตำบลโคกก่อง ผ้าขาวม้า ตำบลค้อน้อย เสื่อทอใบเตย  เช่น กลุ่มแม่บ้าน  ซึ่งจะนำเสนอ ดังนี้     
 กลุ่มแม่บ้านทอผ้ากาบบัว 
            หลังจากเสร็จฤดูทำนา  กลุ่มแม่บ้าน ตำบลหนองไฮ  จะมารวมกลุ่มกันประมาณ 15  คน  เพื่อทอผ้ากาบบัว  ซึ่งสามารถสร้างรายได้ เดือนล่ะ ไม่ต่ำกว่า 10,000 บาท
             “ ผ้ากาบบัว เป็นผ้าเอกลักษณ์ประจำจังหวัดอุบลราชธานี มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2543 จนถึงปัจจุบัน ยังมีกระแสการตอบรับนิยมชมชอบผ้ากาบบัวตลอดมา ซึ่งสร้างโอกาส สร้างรายได้ ให้แก่ประชาชนฐานรากหญ้าได้เป็นอย่างดี โดยเมื่อปี 2547 ผ้ากาบบัวได้รับการคัดสรร เข้าสู่โครงการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์” (OTOP) เนื่องจาก เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพมาตรฐาน ได้รับการยอมรับทั้งภายในและภายนอกประเทศ อีกทั้งยังได้รับการคัดสรรเป็นผลิตภัณฑ์ระดับ ดาว ในระดับประเทศ อีกด้วย 
นางเพ็ญศรี สาริพันธ์ สมาชิกกลุ่มทอผ้ากาบบัวบ้านนานวล ตำบลหนองไฮ กล่าวว่า กลุ่มแม่บ้านทอผ้ากาบบัวบ้านนานวล ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2548  มีสมาชิกทั้งหมดจำนวน กว่า 30 คน ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มแม่บ้านที่ว่างเว้นจากการทำนา และใช้เวลาว่างรวมกลุ่มกันเพื่อทอผ้ากาบบัวจำหน่าย โดยจะมีพ่อค้าคนกลางมารับซื้อถึงที่  ซึ่งสามารถผลิตได้ครั้งล่ะไม่ต่ำกว่า 42 เมตร โดยใช้ระยะเวลาในการผลิต 5-6 วัน นอกจากนี้ทางกลุ่มจะนำไปจำหน่ายในช่วงเทศกาลต่าง ๆ  เช่น เทศกาลเข้าพรรษา
งานกาชาด และงานประเพณีบุญบั้งไฟ ทั้งในจังหวัดและต่างจังหวัด ซึ่งได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก ส่งผลให้สมาชิกภายในกลุ่มมีรายได้คนละ 
10,000 บาทต่อเดือน ถึงแม้ว่าในปีนี้กระแสการซื้อ- ขาย ผ้ากาบบัวในปีนี้ ลดลงกว่าปีที่ผ่านมา แต่ก็ยังจำหน่ายได้เรื่อย ๆ ซึ่งสาเหตุมาจากปัจจัยหลายประการไม่ว่าจะเป็น สภาวะเศรษฐกิจที่ผันผวน ราคา
น้ำมัน และความไม่สงบภายในประเทศ เป็นต้น ส่วนลวดลายที่ได้รับความนิยมมากที่สุดได้แก่ ลายดอกแก้ว ดอกพิกุล และผ้ากาบบัวลายน้ำไหล
  
กลุ่มทอเสื่อจากต้นเตย
            หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ของตำบลโนนกาเล็น อำเภอสำโรง จังหวัดอุบลราชธานี ของเราก็คือ "การทำเสื่อเตย" เตยที่นำมาใช้ทำเป็นเตยหนาม ขนาดลำต้นสูง 1.5-3.0 เมตร ชาวบ้านมักจะปลูกไว้ใกล้บ้าน หรือในพื้นที่ที่มีน้ำขัง ขั้นตอนการทำเสื่อนั้น จะต้องนำใบเตยหนามที่เก็บมาได้ไปซีกเป็นเส้นยาว นำไปตากแดดให้แห้ง แล้วนำมาย้อมสี ตากให้แห้งอีกครั้ง แล้วจึงนำมาทอเป็นผืน ชาวบ้านมักจะทอเสื่อได้ใช้เองที่บ้าน หากเหลือใช้ก็จะนำไปขายผืนละ 150 - 300 บาท แล้วแต่ขนาดของเสื่อ จากภาพแม่บ้านของบ้านสว่าง ตำบลโนนกาเล็น อำเภอสำโรง จังหวัดอุบลราชธานี กำลังทอเสื่อไว้ใช้เองที่บ้าน หากเหลือใช้ก็จะนำไปขายเพื่อเป็นรายได้เสริมจากอาชีพหลักคือการทำนา นับว่าเป็นการนำแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาใช้ในการดำเนินชีวิตได้เป็นอย่างดี
            
 



ลักษณะของต้นเตย จะมีขนาดลำต้นสูงประมาณ 1.5 – 3.0 เมตร ใบเรียวยาว  มีหนามด้านข้าง  ชาวอำเภอสำโรงนิยมปลูกใกล้บ้าน  และปลูกในปริมาณไม่มาก ประมาณ 2 – 3  ไร่  เท่านั้น  



กลุ่มทำกระติบข้าว            "กระติบข้าวหลากสีสันสวยงาม" เหล่านี้ เป็นฝีมือของแม่บ้านของบ้านสว่าง ตำบลโนนการเล็น อำเภอสำโรง จังหวัดอุบลราชธานี เป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์แห่งความภูมิใจของเรา ลวดลายสวยงามจากเชือกเส้นเล็กหลากสีที่ถักลงบนกระติบข้าวหลายรูปแบบ เกิดจากการเรียนรู้งานศิลปหัตถกรรมนี้จากจังหวัดร้อยเอ็ดของคนในหมู่บ้าน นำมาถ่ายทอดความรู้ให้แก่กัน แล้วผลิตงาน "กระติบข้าวหลากสีสวยงาม" ออกจำหน่ายทั้งในหมู่บ้านใกล้เคียง และในอำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น